บันทึกในเอกสารประเภทปูมพงศาวดาร ศิลาจารึก และบางส่วนของประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย
1) เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อ ปี พ.ศ. 1003 ในวันเสาร์แรม 7 ค่ำ เดือน 7 เวลากลางคืน ที่เวียงโยนกนคร สุริยอาทิตย์ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดังแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว ประดุจดังว่าเวียงโยนกนครหลวง ที่นี่จักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครึ่งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสอง แล้วก็หายไปนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้ำดังมาอีกเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลง เกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้นคนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้นก็วินาศฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ จะเห็นว่าแผ่นดินเกิดการแยกอย่างชัดเจน ดินถล่มและเกิดการเลื่อนไหล แสดงว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ที่ระดับ 11 เมอร์คัลลี หรือมี ขนาด 8.028.9 ริกเตอร์
2) พ.ศ. 1077 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 เวลาเช้าเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีผู้บันทึกเหตุการณ์ไว้ว่า ยามสู่รุ่ง แผ่นดินไหว ยอดเจดีย์หักลง 4 แห่ง
3) ปีพ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา เกิดแผ่นดินไหวที่นครเชียงใหม่ จนยอดเจดีย์หลวงที่สูง 86 เมตร หักพังลงมาเหลือเพียง 50 เมตร ซึ่งผลจากแผ่นดินไหวทั้งสองครั้งทำให้สิ่งก่อสร้างทรงสูงพังลง แสดงว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ที่ระดับ 8 เมอร์คัลลี หรือมี ขนาด 6.026.9 ริกเตอร์
4) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 เกิดแผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ที่กรุงเทพมหานคร โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้มีศูนย์กลางที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ภาพที่เห็นนี้ ชาวบ้าน"แม่จวาง" ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เรียกว่า "ม่อนทูเล" ทิวเขาสูงชายขอบประเทศไทย ฝั่งตะวันตก
ขอบคุณคับ
ตอบลบ